พาทัวร์...พาเพลิน


พาทัวร์...พาเพลิน


ภาพโดย บุษปรัชญ์ สายทอง


 ประเทศไทยพึ่งพารายได้หลักจากการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จากการสำรวจเมืองจุดหมายที่ทั่วโลกต่างคาดหวังที่จะมาเยี่ยมชมเป็นอันดับหนึ่งคือ เมืองกรุงเทพฯ ประเทศไทย ดังนั้นมัคคุเทศก์จึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะที่เสมือนทูตทางวัฒนธรรมทำหน้าที่เชื่อมโยงความเข้าใจอันดี และเป็นด่านแรกที่ต้อนรับแขกต่างบ้านต่างเมืองเข้ามาในประเทศไทย  ดังนั้นมัคคุเกศก์จึงควรที่จะเรียนรู้บทบาทและหน้าที่ที่ควรปฏิบัติของการเป็นผู้นำเที่ยว รวมถึงดูแลเรื่องความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้เกิดความประทับใจจากนักเที่ยว


กระบวนการทำงานของมักกุเทศก์ 

            จุดเริ่มต้นของการนำเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวคือ ผู้นำเที่ยวควรหาจุดพักที่เหมาะสมนั้นคือ มีร่มเงาให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นจุดด้านหน้าเพื่อเกริ่นภาพรวมของทัวร์ให้นักท่องเที่ยวอย่างประวัติศาสตร์คร่าว ๆ ของสถานที่ท่องเที่ยว  รวมถึงพูดถึงหลักการปฏิบัติ ข้อห้ามข้อควรปฏิบัติ เนื่องจากในแต่ละประเทศมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีวัฒนธรรมที่นักท่องเที่ยวต่างชาติอาจจะไม่เข้าใจ จึงต้องบอกนักท่องเที่ยวก่อนเข้าชมสถานที่ เช่นไม่ควรสวมหมวกภายในวัดหรือนั่งหันเท้าไปทางพระประธาน และเนื่องจากในบางพื้นที่ไม่สามารถถ่ายภาพได้ ควรต้องบอกนักท่องเที่ยวอย่างชัดเจนว่าพื้นที่ใดสามารถถ่ายภาพได้บ้าง และข้อควรระวังก่อนเข้าชมในสถานที่ท่องเที่ยว

 

ภาพโดย บุษปรัชญ์ สายทอง 


เนื้อหาที่มักกุเทศก์ควรนำเสนอ

            

           เนื้อหาสาระ ข้อมูลในการพูดพากย์ทัวร์ เนื้อหาสาระที่มัคคุเทศก์จะต้องนำมาพูดและปฏิบัติหน้าที่นำชมนั้นหลัก ๆ จะอยู่ในรายการนำเที่ยวว่าจะต้องไปนำเที่ยวยังสถานที่ใดบ้าง แต่นั้นก็เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง ผู้นำชมควรพูดแก่นของเนื้อหา (must talk) เนื่องจากว่านอกเหนือจากสถานที่ีท่องเที่ยวที่ต้องพานักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมท่องเที่ยวแล้วนั้น  เรื่องที่นักท่องเที่ยวอยากจะรู้อาจไม่ได้อยู่ในรายการนำเที่ยวนั้น หากนักท่องเที่ยวสนใจก็อธิบายในเนื้อหานั้น เลือกเรื่องที่จะพูดตามนักท่องเที่ยวสนใจ (should talk) หรือลงรายละเอียดในเรื่องที่นักท่องเที่ยวสนใจลึกลงไปอย่างเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย  วิถีชีวีตความเป็นอยู่ สภาพบ้านเมือง เศรษฐกิจการเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์ ศาสนา ความเชื่อ สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ นอกเหนือจากในรายการ และเรื่องอื่น ๆ (could talk) รวมถึงการพูดเพื่อสร้างความสนุกสนานเป็นกันเอง การพูดเพื่อขอความร่วมมือกับนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างบรรยากาศให้เข้ากันกับสถานการณ์หรือสถานที่นำชม


ภาพโดย บุษปรัชญ์ สายทอง

 

เทคนิคการนำชมและการพูดของมักคุเทศก์


            สำหรับสิ่งแรกที่มัคคุเทศก์ควรมีอยู่เสมอนั้นคือ รอยยิ้มตลอดการนำเที่ยว เป็นสิ่งที่สำคัญของมัคคุเทศก์ทุกคน เพื่อแสดงถึงความเป็นมิตรเข้าถึงง่าย และทำให้นักท่องเที่ยวเชื่อใจกับการนำเที่ยวของตัวมัคคุเทศก์เอง การพูดควรเริ่มที่แนะนำภาพรวมของโปรแกรมการท่องเที่ยวก่อนเช่น แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ประวัติความเป็นมา หรือข้อควรและข้อห้ามปฏิบัติในสถานที่นั้น ๆ  ระหว่างบรรยายมัคคุเทศก์ควรยืนให้ใกล้กับวัตถุแต่ไม่ควรยืนบังวัตถุ โดยจะยืนเฉียง 45 องศา หากเป็นสถานที่ อาคารไม่ควรยืนใกล้เกินไป หาจุดยืนให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งจุดยืนนั้นนักท่องเที่ยวต้องเห็นหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน เนื่องจากบางทัวร์ที่มีขนาดใหญ่ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำให้หากการย้ายสถานที่บ่อยอาจทำให้เสียเวลา รวมถึงรบกวนนักท่องเที่ยวคนอื่น หลักการเลือกสถานที่ที่มัคคุเทศก์ใช้อธิบายแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเป็นจุดที่สำคัญมาก และไม่ควรยืนหันหลังให้กับนักท่องเที่ยว เพื่อวิเคราะห์นักท่องเที่ยวจากสีหน้าและท่าทาง หากนักท่องเที่ยวมีความสนใจควรลงรายละเอียด แต่หากนักท่องเที่ยวไม่สนใจควรแนะนำสั้น ๆ และไม่ควรมีระยะห่างระหว่างมัคคุเทศก์กับลูกทัวร์มากนักเนื่องจากป้องกันคนนอกเข้ามาให้วงรอบและไม่รบกวนนักท่องเที่ยวคนอื่นในสถานที่ท่องเที่ยว ในส่วนของการตอบคำถามควรทวนคำถามก่อน เนื่องจากนักท่องเที่ยวนั้นมาจากหลายประเทศในบางครั้งสำเนียงที่ใช้อาจจะต่างออกไป การทวนคำถามไม่เพียงแต่เป็นการทวนคำถามเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคำถามกลับไปยังนักท่องเที่ยวแต่ยังเป็นการซื้อเวลาเพื่อประมวลคำตอบอีกด้วย ในส่วน คำตอบควรสั้นกระฉับไม่ขยายยาวเนื่องจากนักท่องเที่ยวบางกลุ่มอาจจะไม่ได้สนใจเรื่องประวัติศาสตร์หรือที่มาของสถานที่ท่องเที่ยวมากนัก อาจจะทำให้นักท่องเที่ยวเบื่อ และไม่สนุกไปกับการนำเที่ยว มัคคุเทศก์จึงต้องหาวิธีการพูดว่า นักท่องเที่ยวสนใจที่จะฟังในเรื่องอะไร จะเริ่มพูดอย่างไรเพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกทัวร์ มัคคุเทศก์จึงต้องเลือกวิธีการพูดให้เหมาะสมกับความสนใจของนักท่องเที่ยว ต้องคอยสังเกความกระตือรือร้นในการฟังของนักท่องเที่ยว หากมัคคุเทศก์ไม่มีศิลปะในการพูด นักท่องเที่ยวอาจเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นได้ การใช้เสียงหนักเบา ใชน้ำเสียงที่ชัดเจน แจ่มใส นุ่มนวลชวนฟัง สีหน้าท่าทางเป็นมิตร ควรมีรอยยิ้มอยู่เสมอได้ยินทั่วถึง มีจังหวะและลีลาในการพูดสอดเสียงให้พอเหมาะ ไม่ช้าหรือเร็ว พูดให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย การตั้งคำถามและเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวซักถามถือหรือตอบกลับเป็นการสื่อสารสองทาง ( Two-way Communication) เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว
 

 

ภาพโดยบุษปรัชญ์ สายทอง

 
            ปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย เพราะเป็นการลงทุนน้อยแต่ได้ผลตอบแทนมาก จึงเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก การเป็นมัคคุเทศก์ที่ดีควรมีเทคนิคการนำชมและศิลปะการพูดนำเที่ยวถือเป็นหัวใจของการทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ โดยอาศัยองค์ประกอบสำคัญคือ มัคคุเทศก์ต้องมีความพร้อมในเนื้อหาความรู้ บุคลิกภาพดีมีรอยยิ้มอยู่เสมอ มีความเข้าใจและสามารถเข้าถึงความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ รวมถึงความมีมารยาทและรู้จักกาลเทศะในการพูดด้วย


 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

'ปรัมบานัน' เทวสถานฮินดูอันยิ่งใหญ่

มรดกตะวันตก 'โบถส์บารอค' แห่งฟิลิปปินส์

พระธาตุไจ้ทีโย ก้อนหินสีทองแห่งศรัทธาของชาวเมียนมา